top of page

ความเสี่ยงของอาคารขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ


กรุงเทพมหานคร เมืองใหญ่ที่มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มากมาย หากแต่ไม่ค่อยมีใครนึกถึงความปลอดภัย ของการใช้งานในอาคารใหญ่ๆ เหล่านั้นมากนัก ทำให้ความเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะความปลอดภัยด้านอัคคีภัยถูกมองข้ามไป ทั้งๆ ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากความละเลย ไม่ใส่ใจต่อมาตรการ ควบคุมด้านความปลอดภัย รวมถึงการต่อเติม ดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อาคารเกิด ความเสี่ยงที่จะพังทลายหรือทรุดตัวและเกิดโศกนาฏกรรม บ่อยครั้ง แม้จะมีพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง รวมทั้งเทศบัญญัติต่างๆ เป็นมาตรการที่มีผลบังคับใช้มาโดยตลอด แต่ความเสี่ยงของอาคารต่างๆ ก็ยังคงมีอยู่และพร้อมที่จะ เกิดเหตุการณ์อันจะนำมาซึ่งความเสียหายต่างๆ ได้ตลอด เวลา ซึ่งปัญหาดังกล่าวต้องการแนวทางในการแก้ไขที่ชัดเจน ต่อไป การออกแบบผิดพลาด ปัญหาหนึ่งที่ส่งผลต่อ ความปลอดภัยของตัวอาคาร ศ. ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์ เชี่ยวชาญวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่า การออกแบบให้อาคารมีความปลอดภัยต้องเริ่มจาก แบบที่แข็งแรง ปลอดภัย และได้มาตรฐานทั้งทางด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม โดยการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ของอาคาร เนื่องจาก รูปทรงของอาคารต้องได้รับการออกแบบให้มีรูปทรงอาคารที่ดี หลีกเลี่ยงการออกแบบรูปทรงอาคาร ที่ไม่สม่ำเสมอ และอาจเกิดความเสียหายได้ง่ายเมื่อเกิดภัย บางอย่าง เช่น แผ่นดินไหว เป็นต้น ดังนั้น แบบ Lay Out ที่ดีของอาคารจะต้องสามารถสัญจรได้ง่าย และง่ายต่อการอพยพขนย้ายหากเกิดเหตุฉุกเฉิน ดังนั้น อาคารขนาดใหญ่จึงควรมีระบบความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล เช่น บันไดหนีไฟ ผนังกันไฟ ระบบสปริงเกอร์ ระบบดับเพลิง รวมทั้งระบบเตือนภัยต่างๆ ทั้งนี้ ปัญหาจากการออกแบบหรือความผิดพลาดในการออกแบบนั้นอาจมาจากหลายประการ อาทิ ความผิดพลาดจากการคำนวณ Structural Idealization, แรงลม, Moment ในเสา รวมทั้งฐานรากอาคารที่มักทำให้เกิดปัญหาการทรุดตัวและการพังทลายของอาคารบ่อ ยครั้ง โดยส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาการออกแบบที่ละเลยถึงเรื่องคุณภาพในระยะยาว และปัญหาเรื่องการออกแบบเพื่อรองรับภัยธรรมชาติ “งานต่อเติม ซ่อมแซม รื้อถอนอาคารนั้นจำเป็นต้อง มีวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์มากกว่าปกติ เนื่องจากงานต่อเติม ซ่อมแซม รื้อถอนอาคารนั้นถือเป็นงานเฉพาะทาง ที่มีความยากในการดำเนินงานมากกว่างาน ออกแบบและงานก่อสร้างอาคารใหม่ทั่วๆ ไป” กฎหมายควบคุมอาคาร มาตรการเพื่อความปลอดภัยของอาคาร คุณวินัย ลิ่มสกุล ผู้อำนวยการกองควบคุมอาคาร กทม. 2 กล่าวว่า ความปลอดภัยของอาคารนั้นจะมีกฎหมายควบคุมอาคาร และตรวจสอบเรื่องความมั่นคงแข็งแรงของอาคารที่มีผลบังคับใช้จริง โดยเจ้าหน้าที่หรือพนักงานท้องถิ่นเพียงแค่ตรวจสอบเฉพาะตามข้อกำหนดในการออก แบบ เท่านั้น ซึ่งประเภทของอาคารที่ต้องมีการตรวจสอบระบบ ความปลอดภัยนั้น ตามหลักการและข้อกำหนดของกฎหมายแบ่งอาคารออกเป็นหลายประเภท อาทิ อาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ ซึ่งอาคารสาธารณะจำเป็นต้องมีกฎหมายกำหนดมาตรการควบคุมเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะระบบ ความปลอดภัยในอาคาร ที่มุ่งเน้นเรื่องความมั่นคงแข็งแรง ของอาคาร และความรับผิดชอบของวิศวกรผู้ออกแบบ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยในอาคารด้านอัคคีภัย ซึ่งต้องมีมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวด ทั้งนี้ ในส่วนของกฎหมายหรือมาตรการที่ควบคุม เรื่องความปลอดภัยในอาคารที่มีผลบังคับใช้ปัจจุบัน ได้แก่ กฎกระทรวงฉบับที่ 4 เป็นกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในงานก่อสร้าง รื้อถอนอาคาร และงานดัดแปลงการ ก่อสร้างอาคารต่างๆ รวมทั้งกฎกระทรวงฉบับที่ 6 การกำหนดค่าความต้องการความปลอดภัยในการคำนวณของอาคาร ซึ่งผู้ออกแบบ และวิศวกรจะต้องออกแบบให้เป็นไปตาม ข้อกำหนดที่กฎกระทรวงได้กำหนดไว้ ทั้งด้านความมั่นคง แข็งแรง และวัสดุก่อสร้างที่เลือกใช้ ตลอดจนกฎกระทรวง ฉบับที่ 48 ว่าด้วยความปลอดภัยในอาคาร โดยมีการกำหนดเรื่องวัสดุทนไฟที่ใช้ในอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่และอาคารขนาดใหญ่พิเศษ เพื่อมิให้เกิดอันตรายและความเสียหาย ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยความปลอดภัยของอาคาร นอกจากนี้ ยังมีข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร ที่กำหนดเรื่องความปลอดภัยของโครงหลังคา ว่าด้วยความสูงของโครงหลังคาและการเลือกใช้วัสดุทนไฟ ที่ต้องมีวัสดุ ป้องกัน ซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากกฎกระทรวงฉบับที่ 48 โดยกำหนดความสูงของโครงหลังคาที่มีความสูงเกินกว่า 8 เมตร ไม่ต้องมีวัสดุป้องกัน และยังมีการกำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 33 ให้มีระบบป้องกันต่างๆ เช่น ระบบอากาศ ระบบไฟฟ้า ระบบป้องกันอัคคีภัย ซึ่งจำเป็นต้องมีลิฟต์ดับเพลิง ของพนักงานดับเพลิง โดยกำหนดให้ต้องแสดงในแบบก่อสร้างอาคารนั้นๆ ด้วย รวมไปถึง กฎกระทรวงฉบับที่ 39 ที่กำหนดให้อาคารสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ ต้อง ติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย ถังดับเพลิง สัญญาณเตือนไฟไหม้ และป้ายบอกทางหนีไฟให้ชัดเจน ทั้งยังมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 ซึ่งได้กำหนดให้อาคารที่ดำเนินการก่อสร้างก่อน กฎกระทรวงฉบับที่ 33 จะมีผลบังคับใช้ โดยกำหนดให้อาคารเก่าต้องจัดให้มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ และบันได หนีไฟเพิ่มเติม สำหรับอาคารขนาด 4 ชั้นขึ้นไป กำหนดให้มีการติดตั้ง ดัดแปลงเพิ่มเติมให้มีเครื่องดับเพลิงมือถือ และระบบสายล่อฟ้า ส่วนกฎกระทรวงฉบับที่ 55 เป็นข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร ได้กำหนดให้อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 3-4 ชั้นขึ้นไป ต้องมีบันไดหนีไฟและประตูหนีไฟ โดยกำหนดขึ้นเป็นข้อกำหนดในกฎกระทรวงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 พบอาคารส่วนใหญ่ไม่ก่อสร้างตามแบบที่ได้รับอนุญาต อย่างไรก็ตาม คุณวินัย ได้กล่าวต่อไปว่า จากประสบการณ์ ที่ผ่านมาพบว่า อาคารส่วนใหญ่มักไม่ทำการก่อสร้างตามแบบที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง ซึ่งการก่อสร้างที่ไม่ตรงตามแบบที่ได้รับอนุญาตสามารถจำแนกได้สองลักษณะ กล่าวคือ หลังจากดำเนินการก่อสร้างแล้ว ตรวจสอบพบว่าไม่ได้ทำการก่อสร้าง ตามแบบที่ได้รับอนุญาต แต่สามารถขออนุญาตดัดแปลงให้ ถูกต้องตามกฎหมายได้ภายหลัง ส่วนอีกลักษณะหนึ่งเป็นการก่อสร้างไม่ตรงตามแบบที่ได้รับอนุญาต และไม่สามารถทำการ ดัดแปลง แก้ไขให้ถูกต้องตามแบบที่ได้รับอนุญาตได้ จะต้องทำการรื้อถอนอาคาร ทั้งยังพบว่าเจ้าของอาคารส่วนใหญ่ มักทำการก่อสร้าง ดัดแปลง ต่อเติมอาคารเก่าโดยไม่ได้ ขออนุญาต เนื่องจากไม่ทราบถึงข้อกำหนดของกฎหมายที่ ระบุให้เจ้าของอาคารต้องทำการขออนุญาตก่อนทำการ ดัดแปลง ซึ่งการก่อสร้างต่อเติมดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งการใช้อาคารไม่ถูกต้องตามที่ได้รับ อนุญาต ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายและ เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ เตือนอาคารความเสี่ยงสูงในกรุงเทพฯ ชี้ ส่วนใหญ่ก่อสร้าง ต่อเติมผิดแบบ ด้าน รศ.ต่อตระกูล ยมนาค นายกวิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กล่าวว่า อาคารต่างๆ ในกรุงเทพมหานครนั้น ไม่เฉพาะที่อยู่ในความดูแลของกรมโยธาธิการและผังเมือง และกรุงเทพมหานครเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นอาคารที่มีปัญหาการต่อเติม ดัดแปลงอาคาร ให้มีลักษณะผิดไปจากแบบที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบันอาคารในกรุงเทพฯ ที่มีความเสี่ยงจากการก่อสร้าง ต่อเติม หรือดัดแปลงอาคาร ให้มีลักษณะที่ผิดไปจากแบบ ที่ได้รับอนุญาต และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน ได้แก่ อาคารโบนันซ่า ซึ่งเป็นจุดต่อระหว่าง ทางข้ามถนนจากมาบุญครองมายังสยามสแควร์ และเป็น บริเวณที่การสัญจรของผู้คนมีความแออัดมาก เนื่องจาก บริเวณดังกล่าว มีการค้าขายสินค้าที่มีมูลค่าเงินหมุนเวียนสูง ห้างสรรพสินค้ามาบุญครงก็เช่นเดียวกัน เป็นอาคารที่มีลักษณะผิดแบบก่อสร้าง เนื่องจากได้ทำการต่อเติมอาคารชั้นบนสุด เป็นโรงภาพยนตร์ ทั้งยังมีทางขึ้น-ลงที่ไม่สะดวกในการใช้งาน ประกอบกับอาคารมาบุญครองนั้นเป็นอาคารเหล็ก ซึ่งคานเหล็กที่ใช้ในอาคารยังไม่ได้พ่นกันไฟ ตามข้อกำหนดด้านคุณสมบัติ การป้องกันไฟในการออกแบบก่อสร้างอาคาร ดังนั้น หากเกิดเพลิงไหม้อาคารมาบุญครองจะต้องสามารถหนีไฟและออกจากอาคารดังกล่าว ให้ได้ภายในระยะเวลาประมาณ 15-30 นาที ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายมาก อีกทั้งทางหนีไฟของอาคารยังมีสิ่งกีดขวาง ซึ่งถือเป็น สิ่งอันตราย และผิดกฎหมายควบคุมความปลอดภัยในอาคารตามข้อบัญญัติของ กรุงเทพมหานครอีกด้วย นอกจากนี้ ในส่วนของโครงสร้างนั้น จะต้องตระหนักถึงความสำคัญของโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ รวมทั้งป้ายขนาดใหญ่ก็ถือเป็นอาคาร ด้วยเช่นกัน ซึ่งการคำนวณการรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคารถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสิ่งก่อสร้างต่างๆ จะต้อง ได้รับการออกแบบให้มีโครงสร้างที่สามารถรองรับแรงลม การสั่นสะเทือน และความสามารถในการรองรับน้ำหนัก ซึ่งต้องมีความมั่นคงแข็งแรงด้วยเช่นกัน ชี้โรงพยาบาล...อาคารอันตรายที่สุดในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม รศ.ต่อตระกูล ยังได้กล่าวต่อไปว่า อาคารที่อันตรายที่สุดในขณะนี้ คือ โรงพยาบาล เพราะการออกแบบระบบปรับอากาศภายในโรงพยาบาลไม่ถูกต้องตามมาตรฐานของระบบปรับ อากาศภายในโรงพยาบาล ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอาคารควบคุม โดยขณะนี้ ว.ส.ท. กำลังจัดทำมาตรฐานการออกแบบระบบปรับอากาศภายในอาคาร เพื่อให้การออกแบบระบบปรับอากาศภายในอาคารมีมาตรฐานที่ดี และเป็นระบบเดียวกัน เนื่องจากสถิติเกี่ยวกับอายุเฉลี่ยของแพทย์ใน ประเทศไทยมีอายุเฉลี่ยต่ำกว่ามาตรฐานสากล กล่าวคือ แพทย์ชายมีอายุเฉลี่ยประมาณ 56 ปี ในขณะที่แพทย์หญิง มีอายุเฉลี่ยประมาณ 58 ปี ซึ่งสาเหตุที่ทำให้แพทย์ไทยมีอายุเฉลี่ยน้อยกว่ามาตรฐานสากล คือ การมีระบบปรับอากาศ ภายในโรงพยาบาลที่ไม่ได้มาตรฐาน สถานที่ทำงานมีโอกาส การติดเชื้อสูง ส่งผลให้อายุเฉลี่ยของแพทย์น้อยลง เพราะอากาศภายในโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ และ ต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เกี่ยวกับโอกาสการติดเชื้อ ทางอากาศด้วยเช่นกัน กฎกระทรวง และ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร ระบุขั้นตอนการดำเนินงาน ชัดเจนตามหลักเกณฑ์ด้านวิศวกรรม ขณะเดียวกัน คุณธีระพันธ์ ทองประวัติ วิศวกรใหญ่ กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้กล่าวว่า ความปลอดภัยในสิ่งปลูกสร้าง ของประเทศไทยที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่อยู่ในสถานะที่ค่อนข้างดี จากสภาพของ กฎกระทรวงและพระราชบัญญัติควบคุม อาคาร ซึ่งมีการควบคุมและบัญญัติไว้อย่างเป็นขั้นตอน มีการระบุกฎเกณฑ์การดำเนินงาน ที่ค่อนข้างละเอียดถี่ถ้วน ชัดเจน และยังเป็นข้อกำหนด ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางด้านวิศวกรรมอย่างครบถ้วน ทั้งนี้ กฎกระทรวงที่ใช้ในการควบคุมดูแลความปลอดภัยของอาคารนั้น ทั้งในส่วนของอาคารสูงหรือ บ้านพักอาศัย ที่ต้องขออนุญาตปลูกสร้างมีหลักเกณฑ์ในการ ออกแบบ มีการคำนึงถึงระยะห่างของอาคาร ความปลอดภัยในการป้องกันอัคคีภัยในอาคาร ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การ ออกแบบอาคารที่มีข้อมูลสนับสนุนตลอดเวลา ซึ่งเดิมนั้น ความรู้ทางด้านวิศวกรรมมีอยู่ในระดับหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไป จนกระทั่งปัจจุบัน ความรู้ทางวิศวกรรมได้รับการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ทำให้ความรู้ความสามารถและเทคนิคต่างๆ รวมทั้ง การประยุกต์ใช้มีความหลากหลายมากขึ้น กฎกระทรวงหรือพระราชบัญญัติต่างๆ จึงต้องได้รับการปรับปรุง แก้ไข ดัดแปลง ให้มีความทันสมัยต่อการพัฒนาทางด้านวิศวกรรม ในปัจจุบัน รัฐกำลังดำเนินการตรวจสอบอาคาร ดัน ว.ส.ท. และสภาวิศวกร เป็น Third Party เข้าตรวจสอบร่วม สำหรับความปลอดภัยของสาธารณชนนั้น เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักถึง เนื่องจากอาคารแต่ละหลังนั้นมีการสำรวจ ออกแบบ การควบคุมงาน จนกระทั่งถึงความรับผิดชอบ ในส่วนต่างๆ ของผู้รับเหมาก่อสร้าง และการเข้าใช้งาน หลังอาคารก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่ละขั้นตอนในการดำเนินงาน จะต้องมีหลักเกณฑ์ ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานก่อสร้าง ซึ่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กฎกระทรวง รวมทั้งเทศบัญญัติของกรุงเทพมหานคร ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน มีการกำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอนและวิธีการไว้ค่อนข้างละเอียด ผู้รับผิดชอบโครงการ โดยเฉพาะวิศวกรโครงสร้างจำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียด เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการดำเนินงานตาม หลักเกณฑ์ ขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้อง หากเป็นอาคารที่ต้องมีการบังคับใช้ เช่น อาคารสาธารณะ เป็นต้น เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะต้องดำเนินการขออนุญาตเปิดใช้อาคาร โดย จะต้องมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบความเรียบร้อย และความถูกต้องให้เป็นไปตามที่ได้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารไว้ คุณธีระพันธ์ ได้กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลัง ดำเนินการตรวจสอบอาคาร โดยผู้ตรวจสอบอาคารจะต้อง เป็นผู้ผ่านการฝึกอบรม (Course) จากทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) และสภาวิศวกร เพื่อให้ Third Party ในการเข้าตรวจสอบอาคารต่างๆ เป็นการเพิ่มมาตรการในการป้องกันความปลอดภัยให้สูงขึ้นเทียบกับมาตรฐานสากล โดยเจ้าของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างจะต้องเป็นผู้แบกรับภาระค่าใช้จ่าย ในส่วนของการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ที่มีผลบังคับใช้ โดยกฎกระทรวงต่างๆ ที่มีผลบังคับใช้นั้นได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะ ในส่วนที่เป็นขั้นตอนการออกแบบเพื่อก่อสร้าง ที่ได้กำหนด เป็น Minimum Requirement เพื่อให้อาคารและสิ่ง ปลูกสร้างนั้นมีความมั่นคงแข็งแรง เนื่องจากได้มีการกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยไว้ ชี้อาคารห้องแถวและอาคารห้องชุด มีความเสี่ยงต่อการทรุดหรือพังทลายของตัวอาคาร อย่างไรก็ตาม ในส่วนของอาคารห้องแถวหรืออาคาร ห้องชุดต่างๆ ถือเป็นจุดที่มีความเสี่ยงต่อการทรุดหรือพังทลายของตัวอาคาร เนื่องจากการขาดจรรยาบรรณและสามัญสำนึกของเจ้าของอาคาร ผู้ลงทุนและผู้ทำการก่อสร้างอาคารนั้นๆ มักจะละเลยและไม่สนใจในมาตรการการป้องกันความปลอดภัย โดยเฉพาะเรื่องอัคคีภัย และความแข็งแรง มั่นคงของตัวอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่างๆ ขึ้นมา แม้ว่ากฎกระทรวง หรือพระราชบัญญัติควบคุมอาคารที่ออกมามีผลบังคับใช้นั้นจะให้อำนาจท้องถิ่นใ นการออกข้อบัญญัติ หรือใช้อำนาจในการเข้าไปตรวจสอบ ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าการบังคับใช้กฎหมายหรือ กฎกระทรวงในบ้านเรานั้นยังไม่สามารถควบคุมได้ 100% โดยเฉพาะในส่วนของห้องแถว บ้านทาวน์เฮ้าส์ที่ต่อเติมเองโดย ไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้าง ต่อเติมหรือดัดแปลง กลายเป็นนิสัยที่จะต้องต่อเติม ในขณะที่มาตรการหรือกฎกระทรวงต่างๆ ที่กำลังดำเนินการปรับปรุง แก้ไข เพื่อกำหนดออกมาเป็น มาตรฐานต่ำสุด (Minimum Requirement) ซึ่ง JICA ได้เข้ามาช่วยเหลือในการกำหนดรายละเอียดของมาตรฐาน ที่จะมีผลบังคับใช้ต่อไป เพราะประเทศไทยยังไม่มีตัวเลข ที่เป็น Technical Report ทำให้ขาดมาตรฐานที่มีความ ทันสมัยและ Practical แม้ว่าขณะนี้ ว.ส.ท. จะอยู่ระหว่าง การดำเนินการจัดทำร่างมาตรฐานแห่งชาติ หรือ National Building Code ก็ตาม ให้อำนาจท้องถิ่นร่วมกำหนดกฎกระทรวง เพราะความต้องการของแต่ละท้องถิ่นต่างกัน ด้าน คุณสุรพล พงศ์ไทยทัศน์ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบและควบคุมอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้กล่าวว่า ตามภารกิจหน้าที่ของกรมโยธาธิการและผังเมืองนั้นมีหน้าที่ในการวางกฎเกณฑ์ต่ างๆ ในการออกแบบก่อสร้าง จนกระทั่งถึงการออกแบบระบบความปลอดภัยของอาคารด้วย ซึ่งเมื่อกำหนดออกเป็นกฎกระทรวงแล้ว ในส่วนของกรุงเทพมหานคร ท้องถิ่นหรือเทศบาล จะต้องสามารถนำกฎกระทรวงดังกล่าวนี้ไปบังคับใช้ แต่ก็มีการให้อำนาจแก่ท้องถิ่น เพราะความต้องการของแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ทำให้ต้องมีขั้นตอนในการออกกฎกระทรวงเพิ่มขึ้น โดย คณะกรรมการควบคุมอาคารต้องเห็นชอบตามข้อบังคับใน กฎกระทรวงดังกล่าว เพื่อให้กฎเกณฑ์ที่กำหนดเป็นไปตามลักษณะความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้น จะเห็นว่า พระราชบัญญัติควบคุมอาคารมีการกระจายอำนาจแบบ เบ็ดเสร็จ ทำให้กรมโยธาธิการไม่จำเป็นต้องเข้าไปดูแลเรื่อง การปฏิบัติเลย เพียงแต่ทำหน้าที่วางกฎเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้อาคารมีความปลอดภัย สำหรับกฎหมายควบคุมอาคารนั้น ควรจะต้องมีมาตรการ เรื่องการออกแบบอาคารที่เข้าข่ายตามกฎหมายวิชาชีพ โดย ผู้ออกแบบจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอย่าง ถูกต้อง เพื่อเป็นหลักประกันเบื้องต้นในส่วนของผู้ออกแบบอาคารและสิ่งก่อสร้างให้มีค วามปลอดภัย ทั้งยังมีการออกแบบโครงสร้างอาคารโดยกำหนดให้อาคารที่ได้รับการออกแบบ หลังจากปี พ.ศ. 2545 จะต้องได้รับการตรวจสอบหลังจากที่ ผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบก่อสร้างแล้ว โดยจะต้องมีวิศวกรมาทำหน้าที่ Double Check อีกครั้งหนึ่ง เพื่อความปลอดภัยในเรื่องการออกแบบ ซึ่งขณะนี้ข้อกำหนดดังกล่าวอยู่ระหว่างการยกร่างกฎหมายยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่การออกแบบอาคารตามพระราชบัญญัติการควบคุมอาคารก็ยังคงต้องทำการ วางกฎเกณฑ์ต่างๆ ถึงความปลอดภัยในการออกแบบด้วย พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร วางกฎเกณฑ์ เพื่อให้อาคารมีความมั่นคง แข็งแรง ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติการควบคุมอาคารจะวางกฎเกณฑ์ต่างๆ ในเรื่องความปลอดภัยของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ด้วย เช่น การคำนวณโครงสร้างของเหล็ก คอนกรีตที่เป็นเรื่อง Strength ต่างๆ ตามที่กฎกระทรวงได้กำหนดถึง การออกแบบแรงลม แรงแผ่นดินไหวไว้ เพื่อให้การออกแบบอาคารและสิ่งปลูกสร้างมีความมั่นคง แข็งแรง โดยเฉพาะ หากอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นอาคารสูงเกิน 23 เมตร และอาคารขนาดใหญ่พิเศษมีพื้นที่กว่า 10,000 ตารางเมตร ซึ่งตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 ปี พ.ศ. 2535 ได้วางมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับการออกแบบอาคารในเรื่องระบบการป้องกันอัคคีภัย ระบบไฟฟ้าภายในอาคาร ระบบปรับอากาศ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมและการออกแบบคุณภาพน้ำเสียจากอาคาร ตลอดจนการออกแบบอาคารสูง ที่ต้องผ่านการออกแบบ มาจากวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้อง ในขณะที่ ขั้นตอนการก่อสร้างตามกฎกระทรวงดังกล่าว ได้กำหนดให้มีวิศวกรทำการควบคุมการก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคาร โดยเฉพาะในส่วนของอาคาร ควบคุมที่ต้องได้รับการขออนุญาตก่อนที่จะเปิดใช้อาคาร ซึ่งต้องได้รับใบรับรองการก่อสร้างจากพนักท้องถิ่น เพื่อรับรองแบบที่ ทำการก่อสร้างว่าเป็นไปตามแบบที่ขออนุญาตก่อสร้างเบื้องต้น เจ้าของอาคารต้องทำการตรวจสอบอาคาร เปิดใช้งานแล้วทุกๆ 5 ปี คุณสุรพล ได้กล่าวต่อไปว่า หลังจากที่อาคารเปิดใช้ได้ระยะเวลาหนึ่งจะต้องทำการออกกฎกระทรวงอีกฉบับหนึ่ ง เพื่อใช้เป็นมาตรการในการตรวจสอบอาคาร เพราะอาคารที่เปิดใช้แล้วย้อมต้องมีการสึกหรอ เสื่อมโทรม หรือชำรุดเสียหายไปตามระยะเวลา และสภาพของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในอาคาร ซึ่งเจ้าของอาคารจะต้องทำการตรวจสอบอาคาร โดยกฎกระทรวงได้กำหนดให้มีการตรวจสอบอาคาร 9 ประเภท เมื่ออาคาร เปิดใช้บริการแล้ว โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ทำการกำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบอาคาร เพื่อเป็นหลักประกันเบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการออกแบบอาคารและ สิ่งปลูกสร้างอีกด้วย ผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องทำการตรวจสอบอาคารที่เปิดใช้งานแล้วทุกๆ 5 ปี โดยตรวจสอบความมั่นคง แข็งแรงและการใช้งานของอาคาร รวมถึงตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ภายในอาคารที่มีการใช้งานเป็น Routine ด้วย เพื่อทำการตรวจสอบและบำรุงรักษา ซึ่งในกฎหมายควบคุมอาคารได้กำหนดถึงขอบเขตและกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการออกแบบ และก่อสร้าง ซึ่งมักจะพบว่าความผิดพลาดของการออกแบบและก่อสร้างอาคารส่วนใหญ่ มักมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ในขั้นตอนการ ควบคุมงานก่อสร้างมากกว่าความผิดพลาด ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบ แม้ว่าความผิดพลาดส่วนหนึ่ง จะเกิดจากการใช้งานอาคารผิดแบบก็ตาม กล่าวคือ เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากการออกแบบอาคารเพื่อใช้งานอย่างหนึ่ง แต่กลับมีการใช้งานจริงอีกอย่างหนึ่ง บทลงโทษสำหรับอาคารที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคาร ทั้งนี้ อาคารห้างสรรพสินค้านิวเวิล์ดที่เป็นกรณีความ ผิดพลาดที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ถือเป็นความผิดพลาดจากการก่อสร้างไม่ตรงตามแบบที่ขออนุญาต และต้องทำการรื้อถอน ให้เป็นไปตามแบบที่ขออนุญาตก่อสร้างไว้ ซึ่งการรื้อถอน อาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารนั้นจะต้องขออนุญาต พร้อมแสดงแบบ วิธีการและขั้นตอนการรื้อถอนให้ถูกต้อง รวมทั้งต้องแสดงวิธีการลำเลียงวัสดุและการเคลื่อนย้ายต่างๆ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ได้มีการกำหนดไว้ในกฎหมายการควบคุมอาคาร ซึ่งอาคารที่ทำการก่อสร้างไม่ตรงตามแบบที่ได้รับอนุญาตจะต้องได้รับโทษจำคุก ไม่เกินสามเดือน และเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 10,000 บาท พร้อมทั้งเปรียบเทียบปรับรายวัน ไม่เกินวันละ 10,000 บาท แต่หากเจ้าหน้าที่หรือพนักงาน ท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนแล้วยังเพิกเฉย ไม่ดำเนินการแก้ไขหรือรื้อถอนใด โทษดังกล่าวจะเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ โทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือนและเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 100,000 บาท และเปรียบเทียบปรับรายวัน วันละไม่เกิน 30,000 บาท จนกว่าจะดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงและข้อกำหนดต่างๆ และตามกฎหมายมาตรา 70 ยังได้กำหนดไว้ว่าอาคารที่มีการออกแบบและทำการก่อสร้างไม่ถูกต้อง หากเป็นอาคาร ที่ประกอบการพาณิชยกรรมและอาคารทางด้านการศึกษา จะได้รับโทษเพิ่มเป็นสองเท่าของที่กำหนดไว้ เป็นมาตรการ ที่ค่อนข้างมีความเข้มงวดมากพอสมควร ความเสี่ยงสูงสุดด้านอัคคีภัย ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากควันและความร้อน ขณะเดียวกัน ผศ. ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้กล่าวว่า ความเสี่ยงสูงสุดของอาคารขนาดใหญ่ คือ อัคคีภัย ซึ่งความเสี่ยงเรื่องอัคคีภัยสามารถเกิดได้สามกรณี กล่าวคือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นขณะเกิด เพลิงไหม้ ทำให้เกิดควันและความร้อน ความเสี่ยงกรณีที่ 2 คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการพังทลาย เนื่องจากโครงสร้างของอาคารที่ได้รับการออกแบบมานั้นมีความแข็งแรงไม่เพียงพ อ และความเสี่ยงกรณีสุดท้าย คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการพังทลายของอาคารภายหลังจากที่เกิดอัคคีภัย โดยเฉพาะในส่วนของโครงสร้างคอนกรีต เพราะเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว โครงสร้างของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างจะเสียกำลัง หากไม่ ซ่อมแซม รื้อถอนอาคารดังกล่าวอาจทำให้เกิดการพังทลายลงได้ ซึ่งความเสี่ยงทั้ง 3 กรณีนั้นโอกาสที่จะเกิดสูงสุด คือ ความเสี่ยงขณะเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากควันและความร้อน ทั้งนี้ หากพิจารณาถึง Fire Safety ของอาคารสูงจะพบว่ามีหลาย Component ที่ประกอบกันเป็นองค์ประกอบเรื่อง Fire Safety ไม่ว่าจะเป็นการอพยพหนีไฟ, Fire Alarm, ระบบสปริงเกอร์ การจัดแบ่งสัดส่วนพื้นที่ของอาคาร รวมทั้ง การเลือกใช้วัสดุทนไฟภายในอาคาร ตลอดจนมาตรการด้านความปลอดภัยที่เป็นกฎหมาย หรือบทเทศบัญญัติต่างๆ และการค้นคว้าวิจัยเชิงวิชาการด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องยอมรับว่าในประเทศไทยนั้นยังมีความล้าหลังอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของการทดสอบและควบคุมวัสดุที่มีคุณสมบัติทนไฟภายในอาคาร ซึ่งต้องมีการทดสอบได้ เพื่อให้มีผลต่อการควบคุมทางกฎหมายในเรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัยด้วย อนาคตกฎหมายควบคุมอาคารควรอ้างอิงกับมาตรฐานทางวิชาชีพ ผศ.ชัชชาติ ยังได้กล่าวต่อไปว่า แนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่อง Fire Safety นั้น ต้องให้ความสำคัญกับการ แก้ไข ปรับปรุงตัวกฎหมาย และเร่งให้มีการวิจัย ค้นคว้าให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยมุ่งเน้นที่การศึกษาวิจัย ซึ่งประเทศไทย เพิ่งได้ทำการจัดตั้ง Fire Research Center แห่งแรกในประเทศไทย เนื่องจากในประเทศไทยยังขาดการศึกษาวิจัย และค้นคว้าด้านกฎหมายอยู่มากพอสมควร ซึ่งในอนาคตนั้นกฎหมายทางด้านการควบคุมอาคาร และสิ่งปลูกสร้างนั้นควรจะ อ้างอิงถึงมาตรฐานทางวิชาชีพให้มากขึ้น เนื่องจากการแก้ไข รายละเอียดต่างๆ ในตัวกฎหมายนั้นทำได้ยาก ต่างจากมาตรฐานทางวิชาชีพที่สามารถ Revise ปรับปรุง แก้ไขใหม่ได้ทุกปี นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในเรื่องอัคคีภัย คือ การ เผยแพร่ความรู้พื้นฐานให้แก่ประชาชน เนื่องจากประชาชนนั้นเป็นผู้ตรวจสอบอาคารที่ดีที่สุด เพราะอยู่ในอาคารและใช้อาคารในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตลอดเวลา ทำให้สามารถมองเห็นข้อบกพร่องของอาคารได้ดี หากสามารถเผยแพร่และสร้าง ความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานให้แก่ประชาชนผู้ใช้งานภายในอาคารได้ จะทำให้ผู้ใช้อาคารสามารถตรวจสอบอาคารได้ดี และส่งผลให้ผู้ใช้อาคารมีความตระหนักถึงความสำคัญของระบบป้องกันอัคคีภัยและ ความปลอดภัยในการใช้งานอาคารต่างๆ ทั้ง อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่และอาคารขนาดใหญ่พิเศษมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เจ้าของโครงการก่อสร้างต่างๆ ให้ความสำคัญ กับเรื่องดังกล่าวมากขึ้น เกิดเป็นแนวร่วมในการปรับปรุง แก้ไขปัญหาอัคคีภัยต่อไป กฎหมายต้องได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ด้าน คุณพิชญะ จันทรานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการด้านความปลอดภัยจากอัคคีภัย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กล่าวว่า กฎหมายนั้นถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมการก่อสร้างอาคารและสิ่ง ปลูกสร้างให้มีมาตรการด้านความปลอดภัย เช่น พระราช บัญญัติควบคุมอาคารปี พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยเฉพาะในส่วนของอาคารสูงและอาคาร ขนาดใหญ่พิเศษ ทั้งยังมีกฎกระทรวงในปี พ.ศ. 2535 เป็นกฎกระทรวงฉบับที่ 33 ซึ่งมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยในอาคารเป็นหลัก และมีกฎหมายอื่นๆ มารองรับ เช่น กฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน รวมทั้งในส่วนของท้องถิ่น ซึ่งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ความปลอดภัยในเรื่องอัคคีภัยภายในอาคาร อีกทั้งขณะนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองก็อยู่ระหว่างการดำเนินการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับความ ปลอดภัยในอาคารสูงต่างๆ แต่กฎหมายดังกล่าวไม่สามารถมีผลบังคับใช้ย้อนหลังได้ ทั้งนี้ ในส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารสูงนั้น ต้องได้รับการพัฒนาในบางส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันและเทคนิคการก่ อสร้างต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนามากขึ้น ในส่วนของตัวกฎหมายเรื่องกระบวนการก่อสร้างหรือการสร้างสะพานนั้น จะต้องเริ่มตั้งแต่การออกแบบงาน ก่อสร้าง การดูแลอาคารและการดูแลรักษาอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งกฎหมายส่วนใหญ่ในประเทศไทยยังเป็นกฎหมาย ที่มุ่งเน้นเรื่องการออกแบบงานก่อสร้าง และมีรายละเอียด ของข้อกฎหมายบางส่วนที่ไม่มีความยืดหยุ่น และไม่มีข้อมูล เพียงพอ ต้องได้รับการพัฒนาในอนาคตต่อไป โดยข้อกฎหมาย ที่ยังเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน คือ การไม่สามารถให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ย้อนหลังได้ ทำให้มาตรการต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ไม่สามารถบังคับใช้กับอาคารที่ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วได้ ประกอบกับลักษณะของกฎหมายในปัจจุบันมีการกำหนด รายละเอียดต่างๆ ในการดำเนินการในตัวกฎหมาย ซึ่งจะต้อง เป็นไปตาม Building Code ของต่างประเทศ ในขณะที่กฎหมายของต่างประเทศในปัจจุบันมีวิทยาการที่ก้าวหน้า มากพอสมควร ทำให้กฎหมายต่างๆ ได้รับการพัฒนาและ มีลักษณะเป็นแบบ Performance Base การพัฒนากฎหมายต้องมีมาตรฐานทางวิชาชีพเข้ามาเสริม เพื่อให้กฎหมายมีความสมบูรณ์มากขึ้น นอกจากนี้ การพัฒนากฎหมายนั้นในปัจจุบันอาจจะมีการนำองค์ประกอบทางด้านวิชาชีพเข้ามาช่ วยเสริม ในแง่ของมาตรฐานทางวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในตัวกฎหมายมากขึ้น โดยลักษณะของกิจกรรมในแต่ละอาคาร เช่น โรงพยาบาล ศูนย์การค้า โรงแรม ต่างก็มีลักษณะของกิจกรรมการใช้งานภายในอาคารที่แตกต่างกัน มาตรการป้องกันอัคคีภัยและการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยในอาคารก็ย่อมต้อง มีความแตกต่างกัน ประกอบกับความเสี่ยงและอันตรายที่เกิดขึ้นในอาคารแต่ละประเภท รวมถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ อาทิ ความคุ้นเคยในสถานที่ของบุคคลที่เข้าไปใช้อาคาร กิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในอาคาร รวมทั้งระบบป้องกันความปลอดภัย จากอัคคีภัย ก็มีความแตกต่างกันด้วย ดังนั้น หัวใจของการออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยในแต่ละกิจกรรมจึงต้องการความปลอดภัยท ี่แตกต่างกัน คุณพิชญะ ได้กล่าวต่อไปว่า ลักษณะการเกิดเพลิงไหม้หรือการเกิดอัคคีภัยในประเทศไทย มีความแตกต่างจากหลายๆ ประเทศ จากการวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา พบว่า ลักษณะการเกิดเพลิงไหม้ของประเทศไทยมักจะเป็นแบบ Sandwich กล่าวคือ เกิดเพลิงไหม้ที่เป็นลักษณะขึ้นและลงในจุดเดียวกัน หากสามารถดับเพลิงได้ทัน พื้นที่ตรงกลางก็จะไม่เกิดความเสียหาย โดยอาคารสูงจะต้องมีความพร้อมในการจัดทำช่องทางเข้าสู่อาคารให้เอื้อให้เกิด ความสะดวกในการเข้าถึงตัวอาคาร เพื่อทำการดับเพลิงได้อย่างทันท่วงที ซึ่งขณะนี้อาคารสูงต่างๆ กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาเรื่องดังกล่าว ชี้การดับเพลิงภายในอาคารต้องได้รับการพัฒนาและมี Facility ที่ดีรองรับ อย่างไรก็ตาม ลักษณะการผจญเพลิงไหม้จากภายนอกอาคารสูงในปัจจุบันได้รับการพัฒนามากขึ้นกว่ าเมื่อช่วง หลายปีที่ผ่านมา ตำรวจดับเพลิงและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงค่อนข้างมีความชำนาญในการดับเพลิงจากภา ยนอกอาคาร ดังนั้น ภายในอาคารจึงจำเป็นต้องมีความปลอดภัยที่ดีเพียงพอ มีระบบดับเพลิงที่ดี ทั้งยังต้องมีระบบช่วยชีวิตสำหรับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่ทำหน้าที่บรรเทาสาธ ารณภัยดับเพลิง ทั้งนี้ การดับเพลิงของอาคารสูงนั้นสามารถดำเนินการได้เพียงวิธีเดียว คือ การดับเพลิงภายในอาคาร ซึ่งทั้งอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่และอาคารขนาดใหญ่พิเศษจำเป็นต้องมี Facility ที่ดี ทั้งในส่วนของลิฟต์ดับเพลิง ระบบควบคุมควันไฟ ระบบปรับอากาศ และระบบระบายควันภายในอาคาร เนื่องจากการดับเพลิงในอาคารสูงนั้นหากใช้การ ดับเพลิงจากภายนอกอาคาร จะเกิดความเสียหาย จากการฉีดน้ำเข้ามาภายในตัวอาคาร ซึ่งการฉีดน้ำนั้นไม่สามารถช่วยดับเพลิงภายในตัวอาคารได้เลย การฉีดน้ำนั้นเป็นเพียงการลดความร้อนในบริเวณ ข้างเคียงเท่านั้น ไม่ได้มีเป้าหมายในการดับเพลิง ซึ่งเป็นวิธีการดับเพลิงที่ต้องได้รับการพัฒนาให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น คุณพิชญะ กล่าว จะเห็นได้ว่า ความเสี่ยงของอาคารสูงต่างๆ นั้นส่วนใหญ่มีผลมาจากการก่อสร้าง ต่อเติม ดัดแปลงเพิ่มเติม นอกเหนือจากแบบที่ได้รับอนุญาตให้ ก่อสร้างจริง ซึ่งเป็นการละเลยต่อความปลอดภัย ของการใช้อาคาร ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินตามมา โดยความเสี่ยงของอาคาร ที่มักจะประสบปัญหาบ่อยครั้ง คือ การเกิดอัคคีภัยภายในอาคาร ซึ่งมาตรการและข้อกำหนดต่างๆ ในพระราช บัญญัติการควบคุมอาคาร กฎกระทรวง ตลอดจนเทศบัญญัติของกรุงเทพมหานครล้วนแต่มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัย และความมั่นคง แข็งแรงของตัวอาคารแทบทั้งสิ้น แต่การ บังคับใช้ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งอาจมาจาก บทลงโทษและความยืดหยุ่นในตัวกฎหมายเอง รวมถึง รายละเอียดบางส่วนของข้อกำหนดนั้นที่มีความล้าหลังและ ไม่สามารถมีผลบังคับใช้ย้อนหลังได้ เนื่องจากการแก้ไข ข้อกฎหมายนั้นมีขั้นตอนในการดำเนินงานล่าช้าและทำได้ยาก ดังนั้น แนวทางในการนำมาตรฐานทางวิชาชีพเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับใช้ จึงน่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาในรายละเอียดขอปรับให้กฎหมายสามารถบังคับใช้ได้ผล มากยิ่งขึ้น อันจะ ก่อให้เกิดมาตรการที่เข้มงวดและมีความยืดหยุ่น ทันต่อการพัฒนาทางเทคโนโลยีต่างๆ ได้มากขึ้น และส่งผลให้ความเสี่ยงของอาคารต่างๆ ลดน้อยลงตามลำดับต่อไป

บทความจาก http://www.technologymedia.co.th/article/articleview.asp?id=203

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
bottom of page