ความเสี่ยงของอาคารขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ
กรุงเทพมหานคร เมืองใหญ่ที่มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มากมาย หากแต่ไม่ค่อยมีใครนึกถึงความปลอดภัย ของการใช้งานในอาคารใหญ่ๆ เหล่านั้นมากนัก ทำให้ความเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะความปลอดภัยด้านอัคคีภัยถูกมองข้ามไป ทั้งๆ ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากความละเลย ไม่ใส่ใจต่อมาตรการ ควบคุมด้านความปลอดภัย รวมถึงการต่อเติม ดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อาคารเกิด ความเสี่ยงที่จะพังทลายหรือทรุดตัวและเกิดโศกนาฏกรรม บ่อยครั้ง แม้จะมีพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง รวมทั้งเทศบัญญัติต่างๆ เป็นมาตรการที่มีผลบังคับใช้มาโดยตลอด แต่ความเสี่ยงของอาคารต่างๆ ก็ยังคงมีอยู่และพร้อมที่จะ เกิดเหตุการณ์อันจะนำมาซึ่งความเสียหายต่างๆ ได้ตลอด เวลา ซึ่งปัญหาดังกล่าวต้องการแนวทางในการแก้ไขที่ชัดเจน ต่อไป การออกแบบผิดพลาด ปัญหาหนึ่งที่ส่งผลต่อ ความปลอดภัยของตัวอาคาร ศ. ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์ เชี่ยวชาญวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่า การออกแบบให้อาคารมีความปลอดภัยต้องเริ่มจาก แบบที่แข็งแรง ปลอดภัย และได้มาตรฐานทั้งทางด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม โดยการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ของอาคาร เนื่องจาก รูปทรงของอาคารต้องได้รับการออกแบบให้มีรูปทรงอาคารที่ดี หลีกเลี่ยงการออกแบบรูปทรงอาคาร ที่ไม่สม่ำเสมอ และอาจเกิดความเสียหายได้ง่ายเมื่อเกิดภัย บางอย่าง เช่น แผ่นดินไหว เป็นต้น ดังนั้น แบบ Lay Out ที่ดีของอาคารจะต้องสามารถสัญจรได้ง่าย และง่ายต่อการอพยพขนย้ายหากเกิดเหตุฉุกเฉิน ดังนั้น อาคารขนาดใหญ่จึงควรมีระบบความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล เช่น บันไดหนีไฟ ผนังกันไฟ ระบบสปริงเกอร์ ระบบดับเพลิง รวมทั้งระบบเตือนภัยต่างๆ ทั้งนี้ ปัญหาจากการออกแบบหรือความผิดพลาดในการออกแบบนั้นอาจมาจากหลายประการ อาทิ ความผิดพลาดจากการคำนวณ Structural Idealization, แรงลม, Moment ในเสา รวมทั้งฐานรากอาคารที่มักทำให้เกิดปัญหาการทรุดตัวและการพังทลายของอาคารบ่อ ยครั้ง โดยส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาการออกแบบที่ละเลยถึงเรื่องคุณภาพในระยะยาว และปัญหาเรื่องการออกแบบเพื่อรองรับภัยธรรมชาติ “งานต่อเติม ซ่อมแซม รื้อถอนอาคารนั้นจำเป็นต้อง มีวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์มากกว่าปกติ เนื่องจากงานต่อเติม ซ่อมแซม รื้อถอนอาคารนั้นถือเป็นงานเฉพาะทาง ที่มีความยากในการดำเนินงานมากกว่างาน ออกแบบและงานก่อสร้างอาคารใหม่ทั่วๆ ไป” กฎหมายควบคุมอาคาร มาตรการเพื่อความปลอดภัยของอาคาร คุณวินัย ลิ่มสกุล ผู้อำนวยการกองควบคุมอาคาร กทม. 2 กล่าวว่า ความปลอดภัยของอาคารนั้นจะมีกฎหมายควบคุมอาคาร และตรวจสอบเรื่องความมั่นคงแข็งแรงของอาคารที่มีผลบังคับใช้จริง โดยเจ้าหน้าที่หรือพนักงานท้องถิ่นเพียงแค่ตรวจสอบเฉพาะตามข้อกำหนดในการออก แบบ เท่านั้น ซึ่งประเภทของอาคารที่ต้องมีการตรวจสอบระบบ ความปลอดภัยนั้น ตามหลักการและข้อกำหนดของกฎหมายแบ่งอาคารออกเป็นหลายประเภท อาทิ อาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ ซึ่งอาคารสาธารณะจำเป็นต้องมีกฎหมายกำหนดมาตรการควบคุมเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะระบบ ความปลอดภัยในอาคาร ที่มุ่งเน้นเรื่องความมั่นคงแข็งแรง ของอาคาร และความรับผิดชอบของวิศวกรผู้ออกแบบ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยในอาคารด้านอัคคีภัย ซึ่งต้องมีมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวด ทั้งนี้ ในส่วนของกฎหมายหรือมาตรการที่ควบคุม เรื่องความปลอดภัยในอาคารที่มีผลบังคับใช้ปัจจุบัน ได้แก่ กฎกระทรวงฉบับที่ 4 เป็นกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในงานก่อสร้าง รื้อถอนอาคาร และงานดัดแปลงการ ก่อสร้างอาคารต่างๆ รวมทั้งกฎกระทรวงฉบับที่ 6 การกำหนดค่าความต้องการความปลอดภัยในการคำนวณของอาคาร ซึ่งผู้ออกแบบ และวิศวกรจะต้องออกแบบให้เป็นไปตาม ข้อกำหนดที่กฎกระทรวงได้กำหนดไว้ ทั้งด้านความมั่นคง แข็งแรง และวัสดุก่อสร้างที่เลือกใช้ ตลอดจนกฎกระทรวง ฉบับที่ 48 ว่าด้วยความปลอดภัยในอาคาร โดยมีการกำหนดเรื่องวัสดุทนไฟที่ใช้ในอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่และอาคารขนาดใหญ่พิเศษ เพื่อมิให้เกิดอันตรายและความเสียหาย ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยความปลอดภัยของอาคาร นอกจากนี้ ยังมีข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร ที่กำหนดเรื่องความปลอดภัยของโครงหลังคา ว่าด้วยความสูงของโครงหลังคาและการเลือกใช้วัสดุทนไฟ ที่ต้องมีวัสดุ ป้องกัน ซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากกฎกระทรวงฉบับที่ 48 โดยกำหนดความสูงของโครงหลังคาที่มีความสูงเกินกว่า 8 เมตร ไม่ต้องมีวัสดุป้องกัน และยังมีการกำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 33 ให้มีระบบป้องกันต่างๆ เช่น ระบบอากาศ ระบบไฟฟ้า ระบบป้องกันอัคคีภัย ซึ่งจำเป็นต้องมีลิฟต์ดับเพลิง ของพนักงานดับเพลิง โดยกำหนดให้ต้องแสดงในแบบก่อสร้างอาคารนั้นๆ ด้วย รวมไปถึง กฎกระทรวงฉบับที่ 39 ที่กำหนดให้อาคารสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ ต้อง ติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย ถังดับเพลิง สัญญาณเตือนไฟไหม้ และป้ายบอกทางหนีไฟให้ชัดเจน ทั้งยังมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 ซึ่งได้กำหนดให้อาคารที่ดำเนินการก่อสร้างก่อน กฎกระทรวงฉบับที่ 33 จะมีผลบังคับใช้ โดยกำหนดให้อาคารเก่าต้องจัดให้มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ และบันได หนีไฟเพิ่มเติม สำหรับอาคารขนาด 4 ชั้นขึ้นไป กำหนดให้มีการติดตั้ง ดัดแปลงเพิ่มเติมให้มีเครื่องดับเพลิงมือถือ และระบบสายล่อฟ้า ส่วนกฎกระทรวงฉบับที่ 55 เป็นข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร ได้กำหนดให้อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 3-4 ชั้นขึ้นไป ต้องมีบันไดหนีไฟและประตูหนีไฟ โดยกำหนดขึ้นเป็นข้อกำหนดในกฎกระทรวงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 พบอาคารส่วนใหญ่ไม่ก่อสร้างตามแบบที่ได้รับอนุญาต อย่างไรก็ตาม คุณวินัย ได้กล่าวต่อไปว่า จากประสบการณ์ ที่ผ่านมาพบว่า อาคารส่วนใหญ่มักไม่ทำการก่อสร้างตามแบบที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง ซึ่งการก่อสร้างที่ไม่ตรงตามแบบที่ได้รับอนุญาตสามารถจำแนกได้สองลักษณะ กล่าวคือ หลังจากดำเนินการก่อสร้างแล้ว ตรวจสอบพบว่าไม่ได้ทำการก่อสร้าง ตามแบบที่ได้รับอนุญาต แต่สามารถขออนุญาตดัดแปลงให้ ถูกต้องตามกฎหมายได้ภายหลัง ส่วนอีกลักษณะหนึ่งเป็นการก่อสร้างไม่ตรงตามแบบที่ได้รับอนุญาต และไม่สามารถทำการ ดัดแปลง แก้ไขให้ถูกต้องตามแบบที่ได้รับอนุญาตได้ จะต้องทำการรื้อถอนอาคาร ทั้งยังพบว่าเจ้าของอาคารส่วนใหญ่ มักทำการก่อสร้าง ดัดแปลง ต่อเติมอาคารเก่าโดยไม่ได้ ขออนุญาต เนื่องจากไม่ทราบถึงข้อกำหนดของกฎหมายที่ ระบุให้เจ้าของอาคารต้องทำการขออนุญาตก่อนทำการ ดัดแปลง ซึ่งการก่อสร้างต่อเติมดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งการใช้อาคารไม่ถูกต้องตามที่ได้รับ อนุญาต ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายและ เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ เตือนอาคารความเสี่ยงสูงในกรุงเทพฯ ชี้ ส่วนใหญ่ก่อสร้าง ต่อเติมผิดแบบ ด้าน รศ.ต่อตระกูล ยมนาค นายกวิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กล่าวว่า อาคารต่างๆ ในกรุงเทพมหานครนั้น ไม่เฉพาะที่อยู่ในความดูแลของกรมโยธาธิการและผังเมือง และกรุงเทพมหานครเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นอาคารที่มีปัญหาการต่อเติม ดัดแปลงอาคาร ให้มีลักษณะผิดไปจากแบบที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบันอาคารในกรุงเทพฯ ที่มีความเสี่ยงจากการก่อสร้าง ต่อเติม หรือดัดแปลงอาคาร ให้มีลักษณะที่ผิดไปจากแบบ ที่ได้รับอนุญาต และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน ได้แก่ อาคารโบนันซ่า ซึ่งเป็นจุดต่อระหว่าง ทางข้ามถนนจากมาบุญครองมายังสยามสแควร์ และเป็น บริเวณที่การสัญจรของผู้คนมีความแออัดมาก เนื่องจาก บริเวณดังกล่าว มีการค้าขายสินค้าที่มีมูลค่าเงินหมุนเวียนสูง ห้างสรรพสินค้ามาบุญครงก็เช่นเดียวกัน เป็นอาคารที่มีลักษณะผิดแบบก่อสร้าง เนื่องจากได้ทำการต่อเติมอาคารชั้นบนสุด เป็นโรงภาพยนตร์ ทั้งยังมีทางขึ้น-ลงที่ไม่สะดวกในการใช้งาน ประกอบกับอาคารมาบุญครองนั้นเป็นอาคารเหล็ก ซึ่งคานเหล็กที่ใช้ในอาคารยังไม่ได้พ่นกันไฟ ตามข้อกำหนดด้านคุณสมบัติ ก